วิธีหรือเทคนิคการเทรดด้วย Bollinger Bands

0 4,057

วิธีหรือเทคนิคการเทรดด้วย Bollinger Bands

Bollinger Bands เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางเทคนิคที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นกัน เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูเทรนด์และการกลับตัวเป็นหลัก บ่งบอกถึงความต่อเนื่องและการเคลื่อนที่ของราคา นักเทคนิคโดยส่วนใหญ่ จะนิยมใช้ Bollinger bans วิเคราะห์ ในกราฟระยะสั้นๆ เช่น รายวัน หรือรายสัปดาห์ มากกว่ารายปี ผู้ที่คิดค้นคือ นาย จอห์น โบลินเจอร์ (John Bollinger)

BOLLINGER-BANDS-John-Bollinger-ok

เขาเป็นนักเล่นหุ้นทางเทคนิค โดย Bollinger Bands นั้น เขาได้พัฒนาและต่อยอดมาจาก การใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ (Moving Average Envelopes)  รูปลักษณ์ของ Bollinger Bands  จะประกอบด้วยสามเส้น คือ เส้นบน = Upper Band ( BB Top) เส้นกลาง = Middle Band (BB average) และเส้นล่าง  = Lower Band (BB Bottom) เมื่อเส้นทั้งสามนี้ทำงานร่วมกันบนกราฟแล้ว ภาพที่ออกมาก็จะคล้ายๆ ตัวหนอน หรือไส้เดือน 3 ตัวที่กำลังทำงานกันอย่างเป็นทีม มีความกลมเกลียวแน่นแฟ้นกันเป็นอย่างดี บางทีก็ใกล้ชิด บางทีก็อยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ แบบว่าจะไม่ทอดทิ้งกันไปไหนเลยก็ว่าได้ (รักกันจังน่ะเรา ฮ่าๆๆ) สำหรับการตั้งค่าใช้งานนั้น โดยปกติจะนิยมใช้ตามต้นฉบับที่ MT4 ให้มา คือกำหนด Period ไว้ที่ 20 ตามตัวอย่าง
ตัวอย่าง การตั้งค่าและเปิดใช้งาน
ให้ไปที่ Insert ˃ Indicator ˃ Trend ˃ Bollinger Bands ˃ กำหนดค่า (เอาตามต้นฉบับ) ˃ ตกลง

To-set-up-and-use-Bollinger- Bands

ประโยชน์และการใช้งาน Bollinger bands 
  • ใช้วัดความผันผวนของตลาด
  •  ใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน
  • ใช้หาแนวโน้มของราคา
  • ใช้ดู Overbought, Oversold (ซื้อหรือขายมากเกินไป)
  • ใช้เทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakouts
1. ใช้วัดความผันผวนของตลาด  Bollinger Bands สามารถบอกเราให้ทราบว่า สถานะของตลาดเป็นยังไง กำลังคึกคัก หรืออยู่ในช่วงเงียบซบเซา โดยให้ดูจากเส้น คือถ้าเส้นมีลักษณะ บีบ ชิดเข้าหากัน แบบแคบๆ  นั้นหมายถึงตลาดกำลังเงียบเชียบหรืออยู่ในช่วงซบเซาอยู่ แต่ถ้าเส้นแยกออกจากกัน แล้วอยู่ห่างๆ กันเมื่อไหร่ นั้นหมายถึง ตลาดมีความคึกคัก บ่งบอกว่ามีนักลงทุน กำลังมีการซื้อ-ขาย กันเป็นจำนวนมาก
ตัวอย่าง

use-Bollinger-for-see-The-volatility-of-the-market

2. ใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน Bollinger Bands ที่ประกอบกันด้วย 3 เส้นนั้น จะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มของราคา โดยมีหน้าที่แตกต่างกันดังนี้
  • เส้นบน หรือ Upper Band = ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
  • เส้นกลาง หรือ Middle Band = ทำหน้าที่เป็นทั้งแนวรับและแนวต้าน
  • และเส้นล่าง หรือ Lower Band = ทำหน้าที่เป็นแนวรับ
ตัวอย่าง

use-Bollinger-to-be-Support-and-Resistance-levels

3.ใช้หาแนวโน้มของราคา เราสามารถนำ Bollinger Bands มาใช้เพื่อหาแนวโน้มของราคา ดังนี้
  • แนวโน้มขาขึ้น = ลักษณะของราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบบน และไม่ค่อยจะทะลุเส้นขอบกลางลงไปได้
  • แนวโน้มขาลง = ลักษณะของราคาจะอยู่บริเวณเส้นขอบล่าง และไม่ค่อยจะทะลุเส้นขอบกลางขึ้นไป
  • แนวโน้มของราคาที่อยู่ในรูปแบบ Sideway = เมื่อราคาเพิ่มขึ้นจนถึงเส้นขอบบน แล้วเกิดการกลับตัวเปลี่ยนจากขึ้นเป็นลง นั้นหมายถึงแนวโน้มราคากำลังจะลง (เป็นสัญญาณขาย) ในทางกลับกัน ราคาที่ลดลงจนชนเส้นกรอบด้านล่าง จากนั้นเกิดการกลับตัว เปลี่ยนจากลงเป็นขึ้น นั้นหมายถึง แนวโน้มราคากำลังจะขึ้น (เป็นสัญญาณซื้อ)
 ตัวอย่าง ใช้ Bollinger Bands หาแนวโน้มขาขึ้น  

Bollinger-Band-Indicate-uptrend

ตัวอย่าง ใช้ Bollinger Bands หาแนวโน้มขาลง 

Bollinger-Band-Indicate-Downtrend

ตัวอย่าง แนวโน้มของราคาที่อยู่ในรูปแบบ  Sideways

Bollinger-Band-Indicate-Sideway

4.ใช้ดู Overbought, Oversold (ซื้อหรือขายมากเกินไป) กรณีใช้ดูการซื้อหรือขายที่มากเกินไปนั้น ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก
เพียงแค่ดูจากเส้น ก็เข้าใจได้โดยง่าย วิธีการดูหรือแปลความหมายคือ เส้นขอบบน (Upper Band) หมายถึงการซื้อที่มากเกินไป
เส้นขอบล่าง (Lower Band) หมายถึงการขายที่มากเกินไป ฉะนั้นเส้นขอบกลาง (Middle Band) ก็คือการซื้อหรืขายที่อยู่ในระดับปานกลางหรือเท่าเทียมกัน นั้นเอง
ตัวอย่าง

Bollinger-Band-Indicate-Overbought-Oversold

5.ใช้เทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakouts 
การเทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakouts คือการเข้าเทรดทันที เมื่อราคาเกิดการทะลุแนวต้าน หรือแนวรับ โดย Bollinger bands สามารถนำมาใช้ได้ในทุกสภาวะของตลาด ไม่ว่าจะช่วง ขาขึ้น ขาลง หรือ ไซต์เวย์ แต่การนำไปใช้ในตลาดที่แตกต่างกัน ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนบางกลยุทธ์หรือเทคนิค เพื่อให้เข้ากับสถานะการณ์ของตลาดในปัจจุบัน การใช้งานนั้นก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแค่ดูราคาที่มันทะลุ แล้วก็เข้าเทรดตาม แนวโน้ม หรือภาวะของตลาดที่กำลังเป็นอยู่
ตัวอย่าง ใช้เทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Breakouts 

Bollinger-Band-Indicate-Breakoutst-ok

ตามตัวอย่างจะเห็นว่า เมื่อตลาดเงียบ ความผันผวนจะต่ำทำให้เส้น Bollinger bands บีบตัวเข้าหากัน จากการที่บีบตัวเข้าหากันมากๆ นี่ ถือเป็นโอกาสที่ดี ในการหาจุดทะลุแนวรับหรือแนวต้าน (Breakouts) ในการเข้าเทรด ตามกลยุทธ์ป
ในการใช้ Bollinger bands นั้น ถ้าจะให้ดี  ควรใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัว อื่นๆ ประกอบด้วย เช่น Commodity Channel Index (CCI) , Relativa Strength Index (Rsi) , Oscillators (OCT) เพราะบางจังหวะ หรือบางสถานะการณ์ เพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้น ควรมีอินดิเคเตอร์ ตามที่ยกตัวอย่าง มาช่วยยืนยันอีกที

เปิดบัญชีเทรดฟอเร็ก

ทิ้งคำตอบไว้